My idea of romance is spending a quite night alone with someone i love. Just being together is enough.

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เขียนถึงเรื่องที่มีประโยชน์ต่อสังคมแม้จะไม่เกี่ยวกับหน่วยงาน องค์กรหรือ สถาบันโดยตรง

โรคไข้หวัดธรรมดา โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดสายพันธ์ใหม่2009
โรคไข้หวัดนก โรคไข้หวัดหมู และ โรคไข้หวัดมรณะ จัดเป็นโรคที่คล้ายคลึงกัน เช่น มีอาการเริ่มต้นคล้ายคลึงกัน เป็นการติดเชื้อ และเป็นโรคติดต่อในระบบทางเดินลมหายใจ โรคเกิดจากเชื้อไวรัสที่มีอยู่ในธรรมชาติ ในสัตว์ และในคน เป็นโรคพบเกิดได้ตลอดทั้งปี แต่พบมากหรือมีการระบาดในช่วงหน้าฝน และหน้าหนาว เพราะสภาพอากาศช่วยให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ง่าย โรคไข้หวัดธรรมดา (Common Cold) ไข้หวัดธรรมดา เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดของมนุษย์ เกิดได้กับ ทุกเพศและทุกวัย รวมทั้งในปฐมวัย พบโรคไข้หวัดธรรมดาเกิดได้ตั้งแต่เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งในเด็กปฐมวัยอาจพบเป็นไข้หวัดธรรมดาได้ถึงปีละ5 - 6 ครั้ง ส่วนในทารกแรกเกิดจนถึงก่อนอายุ 6 เดือน จะมีภูมิต้านทานโรคหวัดซึ่งได้รับจากแม่ จึงมักไม่พบเกิดการติดเชื้อโรคหวัดการติดเชื้อโรคไข้หวัดธรรมดา โรคไข้หวัดธรรมดาเกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม “ไรโนไวรัส” (Rhinoviruses) ซึ่งมีหลายชนิด โดยติดเชื้อไวรัสได้จาก 2 ทาง คือ
ทางอากาศ จากการหายใจเชื้อไวรัสในอากาศเข้าร่างกาย การไอ จาม รดกัน
และทางการสัมผัส เช่น การสัมผัส น้ำมูก การสัมผัสเชื้อไวรัส ทางมือ จากมือต่อมือ หรือเชื้อโรคติดอยู่ตามที่ต่างๆ เ
ช่น ของเล่น โทรศัพท์ ทางปาก ทางจมูก หรือจากการเช็ด ขยี้ตา พบโอกาสเกิดสูงมากในเด็กเล็กและเกิดได้บ่อย เพราะเด็กเล็กยังมีภูมิต้านทานโรคน้อย ดูแลความสะอาดด้วยตนเองยังไม่ได้ดี และติดต่อกันเองได้ง่ายในโรงเรียน
ไข้หวัดธรรมดา เป็นโรคไม่รุนแรง หายได้เองภายใน 1 - 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 1 - 3 วัน กล่าวคือ มีไข้ไม่สูงมาก มักไม่เกิน 38 - 38.5๐C มีน้ำมูก ไอ จาม แน่น/คัดจมูก เสียงเปลี่ยน แสบตาบ้าง มีปวดเมื่อยตัวบ้างไม่มากอ่อนเพลียได้แต่ไม่มาก
การรักษาไข้หวัดธรรมดา ได้แก่ การพักผ่อน และการรักษาตามอาการ เช่น ใช้ยาลดไข้ แก้ปวด พาราเซตามอล (ห้ามกินยาแอสไพริน) ยาบรรเทาอาการไอ และยาลดน้ำมูก
โรคแทรกซ้อนของไข้หวัดธรรมดา ถ้าเด็กเป็นหวัดบ่อย อาจมีโรคแทรกซ้อนได้ เช่นโรคหูอักเสบ ปวดหู หอบ หืด หายใจไม่สะดวก ไซนัสอักเสบ หรือติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เจ็บคอ หลอดลมอักเสบ หรือปอดอักเสบได้
ควรนำเด็กพบแพทย์ เมื่อ
• เด็กมีไข้สูง หรือมีไข้เกิน 3 วัน
• กินยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลง
• อ่อนเพลียมาก
• เด็กไม่ดื่มน้ำ ดื่มน้ำได้น้อย
• เด็กไม่ยอมกิน
• ไอมาก เสมหะมีสีเขียว คล้ำ หรือเหลือง (เสมหะจากไข้หวัดจะมีสีขาว) ซึ่งแสดงถึงการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเด็กมีปัญหาทางการหายใจ หอบ
เหนื่อย และ/หรือ เจ็บหน้าอก
• เนื้อตัว ปลายมือ ปลายเท้า เขียว คล้ำ
• ปวดศรีษะมาก
• ปวดหู
• เด็กโยเยตลอดเวลา กระสับกระส่าย
• เด็กซึม
• อาการเด็กเลวลง ภายใน 2 - 3 วัน
• อาเจียนมาก ปวดท้อง หรือท้องเสียมาก
• ผู้ปกครองกังวลใจ
โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคเกิดจากเชื้อไวรัส “อินฟลูเอนซาไวรัส” (InfluenzaViruses) หรือเรียกย่อโดยทั่วไปว่า “ฟลูไวรัส” (Flu Viruses)
ซึ่งมี 3 ชนิดหลัก คือ
อินฟลูเอนซาไวรัส เอ (Influenza Virus A) อินฟลูเอนซาไวรัส บี (Influenza Virus B)
และ อินฟลูเอนซาไวรัส ซี (Influenza Virus C)
อินฟลูเอนซาไวรัส เอ เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคมากที่สุด และมีความรุนแรงโรคมากที่สุด รวมทั้งมักทำให้เกิดการระบาดแพร่หลาย หรือ การระบาดทั่ว (Pandemic) พบทำให้เกิดโรคได้ ทั้งในคนและในสัตว์ต่างๆ เช่น สัตว์ปีก หมู ม้า วาฬ และแมวน้ำ เป็นไวรัสที่มีการกลายพันธุ์ได้ง่าย ไวรัส ไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ ยังแบ่งเป็นอีกหลายสายพันธุ์ย่อยตามจำนวนและชนิดของโปรตีนที่มีอยู่ในไวรัส ได้แก่ จำนวนของชนิดโปรตีน ที่เรียกว่าฮีแมกกลูตินิน(Hemagglutinon, H) ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “เฮช (H)”และจำนวนโปรตีน นิวรามินิเดส (neuraminidase, N) ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “เอน, N” สายพันธุ์ที่มักติดต่อในคน เช่น เฮชหนึ่งเอนหนึ่ง (H1N1) เฮชหนึ่งเอนสอง (H1N2) และ เฮชสามเอนสอง (H3N2) หรือสายพันธุ์ติดต่อในสัตว์ปีก เช่น เฮชห้าเอนหนึ่ง (H5N1) เป็นต้น
อินฟลูเอนซาไวรัส บี เป็นเชื้อไวรัสชนิดไม่มีการแบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อย ส่วนใหญ่มักทำให้เกิดโรคเฉพาะในคน และสามารถทำให้เกิดการระบาดได้ แต่ไม่รุนแรงถึงขั้นเป็นการระบาดทั่ว
อินฟลูเอนวาไวรัส ซี เป็นเชื้อไวรัสที่ไม่มีการแบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อย เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดไม่รุนแรงในคน อาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา และมักไม่เป็นสาเหตุให้เกิดการระบาดทั่ว
หมายเหตุ การเรียกชื่อไข้หวัดใหญ่ เรียกได้หลายแบบ เช่น
• เรียกตามชื่อเมือง หรือประเทศที่เป็นต้นตอของการระบาด เช่นไข้หวัดเม็กซิโก ไข้หวัดสเปน หรือไข้หวัดรัสเซีย
• ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (Seasonal Flu) คือ ไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเกิดระบาดไม่รุนแรง เกิดตามฤดูกาลตามธรรมชาติของโรค เช่นในฤดูฝน ในฤดูใบไม้ผลิ หรือในฤดูหนาว การระบาดจำกัดอยู่
เฉพาะในชุมชนเดียว และระบาดอยู่ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพียง3 - 4 สัปดาห์
• ไข้หวัดใหญ่ที่มีการระบาดทั่ว (Pandemic Flu) คือ ไข้หวัดใหญ่ที่มีการระบาดรุนแรง กว้างขวาง ข้ามประเทศ หรือระบาดทั่วโลก
• เรียกตามปีที่เกิดการระบาด เช่น การระบาดในปี 2009 นี้ เรียกว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ปี 2009
• เรียกตามสายพันธุ์ เช่น ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ เฮชหนึ่งเอนหนึ่ง เป็นต้น
• เรียกตามสัตว์ที่เป็นต้นกำเนิดโรค เช่น ไข้หวัดนก หรือ ไข้หวัดหมู
การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในหัวข้อโรคไข้หวัดธรรมดา อาการของไข้หวัดใหญ่ มักเกิดภายใน 1 - 2 วันหลังได้รับเชื้อ อาการรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา ที่พบบ่อย คือ มีไข้สูง 38 - 39๐C ปวดศีรษะมาก ปวดเมื่อยตัวมาก อ่อนเพลียมาก มีอาการแสบตามาก คัดจมูก ตา หน้า ริมฝีปาก คอ แดง อาจมีปวดท้อง หรือท้องเสียร่วมด้วย มีไอแห้งๆ และมีเสมหะบ้างไม่มาก อาการจะเป็นอยู่ประมาณ 1 - 2
สัปดาห์ ถ้าเป็นโรคชนิดไม่มีอาการแทรกซ้อนจะหายเองได้
โรคแทรกซ้อน โรคแทรกซ้อนซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ คือ ภาวะอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ หัวใจวาย เยื่อหุ้มสมอง และเนื้อสมองอักเสบ หลอดลมอักเสบรุนแรง และปอดอักเสบ
หรือปอดบวม
การวินิจฉัย วินิจฉัยเบื้องต้นจากประวัติสัมผัสโรค และอาการ การวินิจฉัยที่แม่นยำรองลงไป คือ การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการดูภูมิคุ้มกัน/ต้านทานโรค แต่การวินิจฉัยให้แน่ชัดว่าเป็นเชื้อสายพันธุ์ใด คือ การเพาะเชื้อ
การรักษา คือ การรักษาประคับประคองตามอาการ และการให้ยาต้านไวรัส ควรรีบพบแพทย์ เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในเรื่องไข้หวัดธรรมดา
การป้องกันการติดเชื้อและการระบาดของไข้หวัด/ไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์ ที่สำคัญ คือ
• การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน สอนเด็กให้รู้จักการติดต่อของโรค และการ
รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
• การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เต็มที่
• สอนเด็กให้รู้จัก การล้างมือบ่อยๆ
• สอนเด็กไม่ให้ใช้มือขยี้ตา เช็ดจมูก และเช็ดปาก ให้รู้จักการใช้กระดาษทิชชู
• การใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก (หน้ากากอนามัย หรือ Mask) การปิดปากเวลาไอ จาม
• หลีกเลี่ยงการไปในที่แออัด หรือการใช้ของสาธารณะ โดยเฉพาะในฤดู หรือช่วงที่มีการระบาดของโรค
• หลีกเลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัส คนที่มีอาการ
• หลีกเลี่ยงการไปประเทศที่มีการระบาด
• การฉีดวัคซีน (ในโรคที่มีวัคซีนป้องกัน) โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง (ถ้าผู้ปกครองสนใจ ควรปรึกษากุมารแพทย์ หรือหมอเด็ก)
กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดไข้หวัดใหญ่ และมักมีอาการรุนแรง ซึ่งแพทย์มักแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกัน ได้แก่
• คนที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น ในเด็กปฐมวัย ในผู้สูงอายุ และผู้มีโรคเรื้อรัง
• คนที่ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ การพยาบาล และการดูแลเด็กปฐมวัย
อย่างไรก็ตาม หน่วยงานป้องกันโรคของประเทศสหรัฐอเมริกา (CDC, TheCenters for Disease Control and Prevention) ได้แนะนำว่า ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ในเด็กอายุ 6 เดือน จนถึงอายุ 19 ปี
ระดับการเตือนภัยในการควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ องค์การอนามัยโลก(World Health Organization, WHO) ได้กำหนดมาตรการในการเตือนภัยทั่วโลก เพื่อมาตรการในการป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคไข้หวัด
ใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั่วโลก แบ่งเป็น 6 ระดับ (Phases) ดังนี้
การเตือนภัยระดับ Inter-Pandemic Period ได้แก่ การเตือนภัยในระดับที่ 1 และ ระดับที่ 2
ระดับที่ 1 มีการระบาดในสัตว์ ไม่มีรายงานการติดโรคในคน และโอกาสติดโรคในคนต่ำ
ระดับที่ 2 มีการระบาดในสัตว์ ยังไม่มีการติดโรคในคน แต่มีโอกาสเกิดการติดโรคในคนสูง
การเตือนภัยระดับ Pandemic Aert Period ได้แก่การเตือนภัยในระดับ 3 - 5
ระดับที่ 3 มีการระบาดในคน แต่การระบาดจากคนสู่คนยังไม่ชัดเจนและการระบาดยังเกิดขึ้นเฉพาะในชุมชนเพียงชุมชนเดียว
ระดับที่ 4 มีการระบาดจากคนสู่คน การระบาดคงอยู่เป็นระยะเวลานานแต่การระบาดยังอยู่ในระดับชุมชน ยังไม่ระบาดข้ามประเทศ
ระดับที่ 5 มีการระบาดในคน คนสู่คน การระบาดคงอยู่นาน 2 - 4สัปดาห์ขึ้นไป มีการระบาดตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไป แต่ยังคงอยู่ในภูมิภาค (Region) เดียวกัน และมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดทั่วในวงกว้างทั่วโลก
การเตือนภัยระดับ pandemic period ได้แก่การเตือนภัยในระดับ 6
ระดับที่ 6 การระบาดรุนแรงในคน คนสู่คน การระบาดคงอยู่นาน และระบาดลุกลาม ตั้งแต่ 2 สองภูมิภาคของโลกขึ้นไป และเมื่อเริ่มมีการควบคุมโรคได้
WHO ยังมีการประกาศระดับการเตือนภัย
เช่นกัน
ได้แก่
• Post-peak Period คือ จำนวนประชากรที่ติดโรคลดลง
• Possible New Wave อาจกลับมีการระบาดเกิดขึ้นซ้ำอีกในประเทศที่เคยควบคุมโรคได้
• Post-pandemic Period คือ อัตราการเกิดโรคกลับเข้าสู่ระดับการเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 คือไข้หวัดใหญ่ซึ่งกำลังมีการระบาดทั่วในปัจจุบัน หรือมีชื่อเดิมตามประเทศที่เป็นต้นตอการระบาดในเดือนเมษายน ศกนี้ว่า “ไข้หวัดเม็กซิโก” (Mexico Influenza) ซึ่งเมื่อ 1 พฤษภาคม ศกนี้ กระทรวงสาธารณสุข ของเรา ให้ใช้ชื่อว่า “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ 2009 เฮช1เอน1” หรือเรียกย่อว่า “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” และเมื่อเริ่มเกิดการระบาด คิดว่าเกิดจากไข้หวัดหมู จึงเรียกกันว่า “ไข้หวัดหมู” (Swine Flu) ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นการระบาดของไข้หวัดใหญ่ Influenza A สายพันธุ์ H1N1 ซึ่งอาจเป็นเชื้อผสมข้ามพันธุ์ ระหว่าง เชื้อไข้หวัดหมู เชื้อไข้หวัดนก และเชื้อไข้หวัดใหญ่ในคน เป็นการติดต่อจากคนสู่คน ไม่เกี่ยวข้องกับหมู แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีโอกาสเกิดการติดต่อจากหมูสู่คนได้
การติดต่อ วิธีวินิจฉัยโรค การรักษา และการป้องกันโรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 เช่นเดียวกับได้กล่าวแล้วในเรื่อง โรคไข้หวัดใหญ่ในคน ยกเว้นปัจจุบัน (2 พฤษภาคม2552) ขณะเขียนบทความนี้ ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคทั้งในคน และในหมู แต่กำลังมีการศึกษาอย่างจริงจัง และเร่งด่วน เพื่อให้มีใช้ได้ทันก่อนหน้าหนาวปลายปีนี้ เพราะจากการศึกษาประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ในเรื่องการระบาดของไข้หวัดใหญ่ พบว่า การระบาดทั่วที่ร้ายแรงที่สุดในวงกว้างทั่วโลก และเป็นการระบาดของสายพันธุ์ที่รุนแรง มักเกิดในฤดูหนาวที่ตามมา หลังจากได้มีการระบาดในฤดูใบไม้ผลินำมาก่อน (เช่นเดียวกับในปีนี้)โรคไข้หวัดนก (Avian Influenza, Bird Influenza, Bird Flu)
ไข้หวัดนก คือ ไข้หวัดใหญ่ที่เกิดในสัตว์ปีก โดยสัตว์ต้นกำเนิด หรือสัตว์รังโรคที่สำคัญ คือ นกอพยพ และนกเป็ดน้ำ เชื้อไวรัสไข้หวัดนกมักเป็นสายพันธุ์ เอ(Influenza A) โดยทั่วไปจะติดต่อเฉพาะในสัตว์ปีก แต่อาจมีการกลายพันธุ์ข้ามติดต่อจากสัตว์ปีกสู่คนได้ เชื้อที่พบติดต่อมาสู่คนได้ เช่น เฮชห้าเอนหนึ่ง (H5N1) เฮช7เอน7(H7N7) และ เฮช9เอน2 (H9N2) การติดต่อในหมู่สัตว์ปีก และจากสัตว์ปีกสู่คน โดยการแพร่กระจายทางอุจจาระ และสารคัดหลั่งของสัตว์ปีก เชื้อไวรัสจะอยู่ได้นานในอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสูง และติดต่อได้
ทั้งจาก ทางอากาศ โดยการหายใจ และการสัมผัสสารคัดหลั่ง น้ำมูกน้ำลาย อุจจาระและการบริโภคสัตว์ปีกปรุงไม่สุก ในปัจจุบันยังไม่พบการติดต่อจากคนสู่คน (แต่โดยทฤษฎีมีโอกาสเป็นไปได้) อาการ การตรวจวินิจฉัย การรักษา ใช้วิธีการเช่นเดียวกับในโรคไข้หวัดใหญ่
การป้องกัน นอกจากเหมือนกับในการป้องกันไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่แล้ว คือ การบริโภคอาหารจากสัตว์ปีกที่ปรุงสุกดีเท่านั้น ไม่บริโภค หรือสัมผัสสัตว์ปีกที่ติดโรค การป้องกัน และควบคุมสัตว์ปีกติดโรค และ
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันในสัตว์ปีกเองแล้ว แต่ยังถกเถียงกันถึงประโยชน์ของการฉีดวัคซีนในสัตว์ปีก อย่างไรก็ตามยังไม่มีวัคซีนป้องกันในคนโรคไข้หวัดหมู(Swine Influenza, Swine Flu, Pig Flu)
ไข้หวัดหมู คือ โรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดในหมู เกิดจากเชื้อไวรัส
ไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ (Influenza A) มีหลายสายพันธุ์ย่อย เช่น เฮชหนึ่งเอนหนึ่ง และ เฮชสามเอนสอง (H1N1, H3N2) โดยทั่วไปมักเกิด และระบาดอยู่เฉพาะในหมู ในฤดูกาลเดียวกับการระบาดของไข้หวัดใหญ่ ในคน และวิธีการระบาดในหมู เช่นเดียวกับในไข้หวัดใหญ่ทั่วไป คือการสัมผัสสารคัดหลั่งซึ่งกันและกันระหว่างหมู ไม่ค่อยพบมีการระบาดข้ามมาในคน แต่พบได้บ้าง ระหว่างหมูมายังคน และคนมายังหมู แต่ บางครั้งโรคสายพันธุ์ในหมูพบเกิดได้เองในคนโดยไม่ได้สัมผัสกับหมู นอกจากนั้นยังพบการระบาดจากคนสู่คนได้ ไข้หวัดหมูสายพันธุ์ H1N1เป็นคนละสายพันธุ์ย่อย ต่างจาก ไข้หวัดใหญ่ H1N1 ในคนที่กำลังระบาด ในขณะนี้
การป้องกันไข้หวัดหมู เช่นเดียวกับในไข้หวัดนก และในไข้หวัดใหญ่ในคนอย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ทั้งใน หมู และในคน
โรคไข้หวัดมรณะ หรือ โรคซาร์(SARS, Severe Acute Respiratory Syndrome)
ไข้หวัดมรณะ เกิดจากเชื้อไวรัส “โคโรนาไวรัส” (Coronaviruses,SARS-CoV) เป็นโรค และไวรัส คนละชนิดกับไข้หวัดใหญ่ แต่มีความรุนแรงและ แพร่ระบาดได้รวดเร็ว และรุนแรงกว่าไข้หวัดใหญ่ เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถเจริญเติบโตได้นอกร่างกายมนุษย์ อยู่ในละอองอากาศได้นาน และยังไม่ทราบแหล่งรังโรคที่แน่นอนอาการ มักเกิดภายหลังการติดเชื้อ 2 - 10 วัน อาการเริ่มต้นคล้ายอาการจากไข้หวัดใหญ่ แต่ที่แตกต่าง คือ มีอาการทางปอด และทางการหายใจมาก เช่น หายใจลำบาก หอบ เหนื่อย เอ็กซเรย์ปอดพบมีการติดเชื้อในปอด
การวินิจฉัยโรค ในเบื้องต้น คือ จากประวัติสัมผัสโรค อาการ และเอกซเรย์ปอด
การวินิจฉัยที่แน่นอน คือ การตรวจภูมิคุ้มกัน/ต้านทานโรคทางห้องปฏิบัติการ และที่ให้
ผลแน่นอนที่สุด คือ การตรวจเพาะเชื้อไวรัส
การรักษา ยังไม่มียาซึ่งรักษาโรคนี้ได้ชัดเจน การรักษาในปัจจุบัน คือ การรักษาตามอาการ การให้ยาสเตียรอยด์ ยาปฏิชีวนะ ยาต้านไวรัส และ/หรือ ยาเพิ่มภูมิคุ้มกัน/
ต้านทานโรค
การป้องกัน ใช้วิธีการเช่นเดียวกับในโรคไข้หวัดใหญ่ แต่วิธีที่ได้ผลที่สุดอีกวิธี คือ การกักตัว (Quarantine) ผู้ควรต้องเฝ้าระวัง เช่น คนที่กลับจากประเทศที่มีการระบาดโดยยังไม่มีอาการ ผู้ต้องสงสัยจากการมีไข้ และผู้สัมผัสโรค อย่างน้อย 3 สัปดาห์ และปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้

สรุป
การป้องกันที่ดีที่สุด ต่อการติดเชื้อโรคทางเดินลมหายใจ คือ
• การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
• การล้างมือบ่อยๆ
• การใช้ผ้าปิดปาก จมูก เมื่อต้องใกล้ชิด สัมผัสกับคนป่วย หรือในที่แออัด
ในช่วงมีการระบาดของโรค
• การรู้จักการแยกผู้ป่วย
• การฉีดวัคซีนป้องกัน (เมื่อมีวัคซีนป้องกันโรคได้) ตามคำแนะนำของแพทย์
• พบแพทย์ เมื่ออาการต่างๆ ไม่ดีขึ้นใน 2 - 3 วัน

เขียนถึงกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อการประชาสัมพันธ์


น้ำอบไทยสวนดุสิต...ต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ โดยสถาบันภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรม
ใกล้เข้ามาอีกครั้งกับประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานในช่วงที่ลมร้อนพัดมาเยือน อย่างเช่นประเพณีสงกรานต์ กิจกรรมหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างไม่เสื่อมคลาย ซึ่งได้มาช่วยคลายร้อน นั่นคือ การเล่นน้ำสงกรานต์ ตั้งแต่สมัยโบราณ เรามักใช้น้ำอบไทย ที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จากการปรุงกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ จากดอกไม้ไทยนานาพันธุ์ สำหรับรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ในเทศกาลวันปีใหม่ไทย
แม้ว่าปัจจุบันกลิ่นหอมของน้ำอบไทยอาจจางหายจากสังคมไทยไปบ้าง เพราะการเข้ามาแทนที่ของการสาดน้ำอย่างสนุกสนาน โดยใช้น้ำประปาตระเวนไปตามท้องถนน และตามที่ต่างๆ สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ในฐานะหน่วยงานหนึ่งที่จะส่งเสริม อนุรักษ์ และสืบทอด ความเป็นไทยทั้งในเรื่องของงานศิลปะประดิษฐ์และงานวัฒธรรม ให้กับประเพณีไทยอย่างเช่นสงกรานต์ ทางสถาบันฯ จึงได้เผยเคล็ดลับการปรุงน้ำอบไทยในสูตรของสวนดุสิต

นางสาวบุษกร เข่งเจริญ วิทยากรประจำสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้เปิดเผยสูตรการปรุงน้ำอบไทยสวนดุสิต ว่า “การปรุงน้ำอบไทยของสวนดุสิต เริ่มต้นด้วยการ เตรียมส่วนผสม ๓ ส่วนด้วยกัน คือ เครื่องต้มประกอบด้วย จันทน์เทศ ใบเตย ชะลูด เครื่องร่ำ ประกอบด้วย กำยานป่น จันทน์เทศป่น ผิวมะกรูดป่น น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง พิมเสน น้ำมันจันทน์ และเครื่องปรุง ประกอบด้วยแป้งหิน ชะมดเช็ด พิมเสน และหัวน้ำหอมกลิ่นดอกไม้ไทย เช่น กุหลาบ มะลิ กระดังงา ลีลาวดี ลำเจียก ฯลฯ ในส่วนของวิธีทำ เริ่มต้นจากการต้มน้ำให้เดือด แล้วใส่จันทน์เทศสับกับชะลูด ต้มต่อจนน้ำเป็นสีเหลือจางๆ ใส่ชะลูดพร้อมใบเตย จากนั้นต้มต่อ ๑๕ นาที แล้วยกลงกรองด้วยผ้าขาวบางทิ้งไว้ให้เย็น ต่อไปเป็นขั้นตอนการอบควันเทียน ๓-๕ ครั้ง ครั้งละ ๑๕-๒๐ นาที ต่อด้วยขั้นตอนการอบร่ำ โดยนำน้ำที่เย็นแล้วมาอบร่ำ แล้วนำเครื่องอบร่ำทั้งหมดผสมรวมกันใส่กำยานป่น จันทน์เทศป่น ผิวมะกรูดป่น น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง พิมเสน น้ำมันจันทน์ ผสมให้เข้ากัน นำทวนวางกลางโถสำหรับรองรับตะคันที่ร้อนแล้วใส่เครื่องปรุงที่เตรียมไว้แล้วปิดฝา อบประมาณ ๓-๕ ครั้ง ครั้งละ ๑๐-๑๕ นาที ขั้นตอนการปรุงกลิ่น เมื่ออบควันเทียนเสร็จแล้วให้นำพิมเสนบดละเอียด ผสมกับแป้งหินบดให้เข้ากันจนเนียน ใส่ชะมดเช็ดและหยดหัวน้ำหอมกลิ่นต่างๆลงไป และดอกไม้หอมบดให้เข้ากัน ตักน้ำอบที่พักไว้ ใส่ส่วนผสมดังกล่าวแล้วกวนให้เข้ากันแล้วกรองด้วยผ้าขาวบางกวนให้เข้ากันแล้วตักแบ่งใส่ขวด” นางสาวบุษกร กล่าวทิ้งท้ายว่า “เคล็ดลับของการปรุงน้ำอบไทยสูตรสวนดุสิต อยู่ที่ การดูแลความสะอาดในทุกๆขั้นตอน เพราะถ้าไม่สะอาดน้ำอบไทยจะเก็บไว้ได้ไม่นาน และจะมีกลิ่นเหม็น เมื่อนำไปประพรมก็จะแพ้เป็นผื่นคัน และทางเราก็มีขั้นตอนในการอบกำยานและควันเทียน ซึ่งในขั้นตอนนี้จะช่วยให้ไม่เกิดการแพ้ และน้ำอบก็จะไม่เสียเก็บได้เป็นปี ยิ่งนานวันกลิ่นจะยิ่งหอม และกลิ่นที่ได้รับความนิยม คือ มะลิและกุหลาบ นอกจากนั้นยังมีอีก ๕ กลิ่น คือ ลีลาวดี จันท์กะพ้อ โมก กระดังงา การเวก” หากใครผ่านไปผ่านมาแถวๆ ตึกเยาวภา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ไม่ต้องแปลกใจที่จะได้กลิ่นหอมไทยๆ อบอวลไปทั่วละแวกใกล้เคียง เนื่องมาจากทางสถาบันฯ ได้มีการปรุงน้ำอบไทยสูตรสวนดุสิต และมีจำหน่ายราคาย่อมเยา ซึ่งการันตีด้วยฝีมือที่สืบทอดกันมายาวนานจากอาจารย์รุ่นเก่าแก่ของสวนดุสิต สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและสั่งซื้อน้ำอบไทยสวนดุสิต ได้ที่ ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาศิลปวัฒนธรรม โทร.๐-๒๒๔๔-๕๓๕๐,๐-๒๒๔๔-๕๓๕๒

เขียนถึงหน่วยงานหรือองค์กรโดยตรง

ประเมิน ก.พ.ร.สวนดุสิต แชมป์อันดับ 2 ระดับประเทศ แพ้จุฬาฯเฉียดฉิว
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.)ร่วมกับสำนักงานรับรองมาตรฐานและ
ประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ทำการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณพ.ศ.2551ของสำ นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในระดับ
สถาบันอุดมศึกษา ที่มีการจัดการเรียนการสอน 73 มหาวิทยาลัยไทยทั่วประเทศ โดยประเมินจากมิติ 4 ด้าน คือ
1. ด้านประสิทธิผลโดยพิจารณาจากการบริหารมหาวิทยาลัยให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามแผนปฏิบัติ
ราชการที่ได้กำหนดไว้

2. ด้านคุณภาพ ที่ให้ความสำคัญกับการให้บริการที่มีคุณภาพของมหาวิทยาลัยและการ
ประกันคุณภาพการศึกษา

3. ด้านการพัฒนาสถาบันการศึกษา โดยดูจากความสามารถในการบริหารการศึกษา
การเสริมสร้างธรรมาภิบาล การพัฒนาบุคลากร การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพคณาจารย์ คุณภาพของ
อาจารย์ การจัดการระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศ การจัดการความรู้ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ
ภาครัฐและการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐาน และ

4. ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติ
ราชการจะประเมินจากประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การบริหารงบประมาณ การรักษามาตรฐานระยะเวลาการ
ให้บริการ และการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย
ทั้งนี้จากการประเมินดังกล่าวปรากฏว่าสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับคะแนนสูงสุด 10 อันดับแรกได้แก่

อันดับที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ 4.4765 คะแนน
อันดับที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้ 4.4684 คะแนน
อันดับที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรานี ได้ 4.4458 คะแนน

อันดับที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครได้ 4.3886คะแนน
อันดับที่5 มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ 4.3626 คะแนน
อันดับที่ 6 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ 4.3375คะแนน
อันดับที่ 7 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้ 4.3108 คะแนน
อันดับที่ 8 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคลพระนครได้ 4.2935 คะแนน

อันดับที่ 9 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ได้ 4.2813 คะแนน และ
อันดับ 10สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือได้ 4.2752 คะแนน
ณัฏฐนิช/ข่าว
ประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต


วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

CM Punk Money in the bank of Champion in the WWE.


ฟิลิปล์ แจ็ค บรูคส์ (เกิดเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1978) หรือที่รู้จักกันดีในนามสังเวียนมวยปล้ำว่า ซีเอ็ม พังค์ เป็นนักมวยปล้ำชาวอเมริกัน ปัจจุบันปล้ำอยู่ในสมาคม WWE สังกัด SmackDown และเป็นผู้ที่ถือกระเป๋า Money in the Bank คนปัจจุบันอีกด้วย พังค์เป็นแชมป์โลก 4 สมัย ซึ่งสมัยแรกนั้นเป็นแชมป์โลกของสมาคม ROH เมื่อย้ายมาอยู่ WWE ก็เคยได้ทั้งแชมป์โลก ECW และแชมป์โลกเฮฟวี่เวท ตามด้วยแชมป์โลกแทคทีม (จับคู่กับ โคฟี่ คิงส์ตัน)และแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล ทำให้เขากลายเป็นแชมป์ Triple Crown คนที่ 19 ของ WWE นอกจากนี้ พังค์ ยังเป็นผู้ชนะการปล้ำไต่บันไดในแมตซ์ที่ชื่อว่า Money in the Bank เพื่อชิงสัญญาการชิงแชมป์โลกที่ไหน เมื่อไหร่ ก็ได้ ในศึก WrestleMania 2 ปีซ้อน และเมื่อเร็วๆนี้ พังค์สามารถคว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวทกลับมาได้จากการใช้สิทธิ์ Money in the Bank กระชากแชมป์จากเจฟ ฮาร์ดี้ ที่เพิ่งได้แชมป์มาจากเอดจ์ในศึก Extreme Rules 2009 อีกด้วย.