My idea of romance is spending a quite night alone with someone i love. Just being together is enough.

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เขียนถึงกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อการประชาสัมพันธ์


น้ำอบไทยสวนดุสิต...ต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ โดยสถาบันภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรม
ใกล้เข้ามาอีกครั้งกับประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานในช่วงที่ลมร้อนพัดมาเยือน อย่างเช่นประเพณีสงกรานต์ กิจกรรมหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างไม่เสื่อมคลาย ซึ่งได้มาช่วยคลายร้อน นั่นคือ การเล่นน้ำสงกรานต์ ตั้งแต่สมัยโบราณ เรามักใช้น้ำอบไทย ที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จากการปรุงกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ จากดอกไม้ไทยนานาพันธุ์ สำหรับรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ในเทศกาลวันปีใหม่ไทย
แม้ว่าปัจจุบันกลิ่นหอมของน้ำอบไทยอาจจางหายจากสังคมไทยไปบ้าง เพราะการเข้ามาแทนที่ของการสาดน้ำอย่างสนุกสนาน โดยใช้น้ำประปาตระเวนไปตามท้องถนน และตามที่ต่างๆ สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ในฐานะหน่วยงานหนึ่งที่จะส่งเสริม อนุรักษ์ และสืบทอด ความเป็นไทยทั้งในเรื่องของงานศิลปะประดิษฐ์และงานวัฒธรรม ให้กับประเพณีไทยอย่างเช่นสงกรานต์ ทางสถาบันฯ จึงได้เผยเคล็ดลับการปรุงน้ำอบไทยในสูตรของสวนดุสิต

นางสาวบุษกร เข่งเจริญ วิทยากรประจำสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้เปิดเผยสูตรการปรุงน้ำอบไทยสวนดุสิต ว่า “การปรุงน้ำอบไทยของสวนดุสิต เริ่มต้นด้วยการ เตรียมส่วนผสม ๓ ส่วนด้วยกัน คือ เครื่องต้มประกอบด้วย จันทน์เทศ ใบเตย ชะลูด เครื่องร่ำ ประกอบด้วย กำยานป่น จันทน์เทศป่น ผิวมะกรูดป่น น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง พิมเสน น้ำมันจันทน์ และเครื่องปรุง ประกอบด้วยแป้งหิน ชะมดเช็ด พิมเสน และหัวน้ำหอมกลิ่นดอกไม้ไทย เช่น กุหลาบ มะลิ กระดังงา ลีลาวดี ลำเจียก ฯลฯ ในส่วนของวิธีทำ เริ่มต้นจากการต้มน้ำให้เดือด แล้วใส่จันทน์เทศสับกับชะลูด ต้มต่อจนน้ำเป็นสีเหลือจางๆ ใส่ชะลูดพร้อมใบเตย จากนั้นต้มต่อ ๑๕ นาที แล้วยกลงกรองด้วยผ้าขาวบางทิ้งไว้ให้เย็น ต่อไปเป็นขั้นตอนการอบควันเทียน ๓-๕ ครั้ง ครั้งละ ๑๕-๒๐ นาที ต่อด้วยขั้นตอนการอบร่ำ โดยนำน้ำที่เย็นแล้วมาอบร่ำ แล้วนำเครื่องอบร่ำทั้งหมดผสมรวมกันใส่กำยานป่น จันทน์เทศป่น ผิวมะกรูดป่น น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง พิมเสน น้ำมันจันทน์ ผสมให้เข้ากัน นำทวนวางกลางโถสำหรับรองรับตะคันที่ร้อนแล้วใส่เครื่องปรุงที่เตรียมไว้แล้วปิดฝา อบประมาณ ๓-๕ ครั้ง ครั้งละ ๑๐-๑๕ นาที ขั้นตอนการปรุงกลิ่น เมื่ออบควันเทียนเสร็จแล้วให้นำพิมเสนบดละเอียด ผสมกับแป้งหินบดให้เข้ากันจนเนียน ใส่ชะมดเช็ดและหยดหัวน้ำหอมกลิ่นต่างๆลงไป และดอกไม้หอมบดให้เข้ากัน ตักน้ำอบที่พักไว้ ใส่ส่วนผสมดังกล่าวแล้วกวนให้เข้ากันแล้วกรองด้วยผ้าขาวบางกวนให้เข้ากันแล้วตักแบ่งใส่ขวด” นางสาวบุษกร กล่าวทิ้งท้ายว่า “เคล็ดลับของการปรุงน้ำอบไทยสูตรสวนดุสิต อยู่ที่ การดูแลความสะอาดในทุกๆขั้นตอน เพราะถ้าไม่สะอาดน้ำอบไทยจะเก็บไว้ได้ไม่นาน และจะมีกลิ่นเหม็น เมื่อนำไปประพรมก็จะแพ้เป็นผื่นคัน และทางเราก็มีขั้นตอนในการอบกำยานและควันเทียน ซึ่งในขั้นตอนนี้จะช่วยให้ไม่เกิดการแพ้ และน้ำอบก็จะไม่เสียเก็บได้เป็นปี ยิ่งนานวันกลิ่นจะยิ่งหอม และกลิ่นที่ได้รับความนิยม คือ มะลิและกุหลาบ นอกจากนั้นยังมีอีก ๕ กลิ่น คือ ลีลาวดี จันท์กะพ้อ โมก กระดังงา การเวก” หากใครผ่านไปผ่านมาแถวๆ ตึกเยาวภา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ไม่ต้องแปลกใจที่จะได้กลิ่นหอมไทยๆ อบอวลไปทั่วละแวกใกล้เคียง เนื่องมาจากทางสถาบันฯ ได้มีการปรุงน้ำอบไทยสูตรสวนดุสิต และมีจำหน่ายราคาย่อมเยา ซึ่งการันตีด้วยฝีมือที่สืบทอดกันมายาวนานจากอาจารย์รุ่นเก่าแก่ของสวนดุสิต สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและสั่งซื้อน้ำอบไทยสวนดุสิต ได้ที่ ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาศิลปวัฒนธรรม โทร.๐-๒๒๔๔-๕๓๕๐,๐-๒๒๔๔-๕๓๕๒

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น